บริษัท ออโต้เดสก์ เข้าร่วมงาน Future Mobility Asia ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-22 กรกฎาคม 2565 โดยภายในงานได้จัดให้มีนิทรรศการแสดงผลงาน รวมถึงการสัมมนานำเสนอแนวคิดโซลูชัน เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ในการขับเคลื่อนบนท้องถนนสำหรับอนาคต
ทั้งนี้ภายในปี พ.ศ.2573 คาดว่าจะมียานยนต์ 1 ใน 3 คัน เป็นระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า ด้วยนโยบายเชิงรุกการพัฒนาอย่างยั่งยืนของรัฐบาลภูมิภาคเอเชีย กำหนดให้ภูมิภาคนี้มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงระดับโลกไปสู่การนำพลังงานสะอาดมาใช้ในธุรกิจยานยนต์ (Clean Mobility) ซึ่งบริษัท Tech Data Advanced Solutions (Thailand) ได้ร่วมมือกับบริษัท Autodesk ผลักดันและส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นไปได้เพื่อก้าวเข้าสู่ระบบดิจิทัล โดยมีแนวโน้มในการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ อาทิ Generative Design, ปัญญาประดิษฐ์ (AI), การผลิตขั้นสูง รวมถึงข้อมูลที่มีการเชื่อมต่อกันไปสู่การเปลี่ยนแปลงโฉมใหม่ของอุตสาหกรรมยานยนต์
อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบดิจิทัล (Digital Transformation) เป็นมากกว่าการใช้ซอฟต์แวร์ แต่เป็นการสร้างแนวทางการเชื่อมต่อข้อมูลระบบดิจิทัลอย่างสมบูรณ์ในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยที่ขั้นตอนต่อไปของการเปลี่ยนผ่านเป็นสู่ระบบดิจิทัลนั้น แพลตฟอร์มและทรัพยากรต่าง ๆ ของระบบดิจิทัลที่สร้างขึ้นในปัจจุบันจะมีการสื่อสารระหว่างกัน ขณะที่มนุษย์และเครื่องจักรจะสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างผสมผสานกลมกลืนและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นได้นั้นจำเป็นต้องมีการเชื่อมต่อข้อมูลเข้าด้วยกันและมีกระบวนการทำงานแบบอัตโนมัติที่เป็นอัจฉริยะ
ผู้สนใจสามารถชมตัวอย่าง การทำงาน รวมถึงแนวทางที่เทคโนโลยีเหล่านี้จะส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมการปรับปรุงการทำงานร่วมกัน และขับเคลื่อนความยั่งยืนเพื่อโลกที่ดีขึ้นได้ที่บูธ Booth MF13 ในงาน Future Mobility Asia
ซึ่ง AUTODESK ได้มีการจัดแสดงการทำงานของโซลูชั่นที่น่าสนใจ เช่น
PIX Moving : Disrupting automotive with digitalization
โดย Ultra-Skateboard เป็นแพลตฟอร์มออกแบบแชสซีรถยนต์อัจฉริยะที่ใช้พลังปัญญาประดิษฐ์ (AI) ตัวแรกของโลกที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อลดอุปสรรคด้านนวัตกรรมของการขับขี่อัตโนมัติ นอกจากนี้ยังช่วยลดระยะเวลาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งให้ประโยชน์ด้านความยั่งยืนอย่างมาก
PIX Moving ใช้ Generative Design ที่ขับเคลื่อนด้วย AI เพื่อปรับแต่งการออกแบบแชสซีให้เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด ซึ่งช่วยให้ทั้งรูปร่างของชิ้นส่วนและคุณสมบัติทางกายภาพสามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้เหมาะกับความต้องการที่แตกต่างกันตามการใช้งานของลูกค้า ด้วยการรวมวิธีการนี้เข้ากับการพิมพ์โลหะ 3 มิติ และเทคโนโลยีการผลิตดิจิทัลอื่น ๆ PIX Moving สามารถผลิตแพลตฟอร์มและยานพาหนะที่ปรับแต่งได้หลากหลายแทบจะไม่จำกัดภายในระยะเวลาการผลิตที่สั้นกว่าแนวทางการผลิตแบบปกติที่พึ่งพิงการผลิตแบบ OEM ของโรงงานเดียวร่วมกับการใช้ห่วงโซ่อุปทานที่ค่อนข้างยาว
ผู้เชี่ยวชาญของ AUTODESK คุณแมตโต บาเรล (Matteo Barale) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตภัณฑ์ของ PIX Moving ได้อธิบายเกี่ยวกับวิธีที่ PIX ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และเครื่องมือดิจิทัล รวมถึง Generative Design การพิมพ์ 3 มิติ และวิทยาการหุ่นยนต์เพื่อสร้างแนวทางการผลิตด้วยเทคโนโลยีของ Autodesk ที่ทำให้การผลิตแบบไม่รวมศูนย์สามารถกระจายและผู้ใช้มีส่วนร่วม
ส่วน Briggs Automotive Company (BAC) ผู้ผลิตรถสปอร์ตสัญชาติอังกฤษได้มีการพัฒนาล้อแบบใหม่ของรถสปอร์ตรุ่น BAC Mono ซึ่งเป็นหนึ่งในล้อที่เบาที่สุดในโลก ซึ่งมีการออกแบบขอบล้อรถใหม่โดยใช้ Generative Design ช่วยให้รถแข่งมีน้ำหนักรวมลดลงเหลือเพียงแค่ 570 กก. และสามารถเร่งความเร็วได้ถึง 100 กม./ชม. ในเวลาไม่ถึง 3 วินาที
ด้วยการใช้เทคโนโลยี Generative Design เพื่อพัฒนาล้อแบบใหม่ BAC สามารถลดน้ำหนักรถทั้งคันได้อีก 4.8 กก. สำหรับรถรุ่นล่าสุด ในขณะที่ชิ้นส่วนของรถประมาณ 40 ชิ้นได้รับผลิตจากการพิมพ์แบบ 3 มิติ และล้อถูกผลิตด้วยเครื่องกัด 5 แกน (5-axis mill) ในการทำเช่นนี้ ผู้ออกแบบได้กำหนดเงื่อนไขขอบเขตสำหรับการออกแบบ และอัลกอริทึมที่ใช้ Machine Learning รวมถึงการประมวลผลบนคลาวด์ช่วยจำลองตัวเลือกต่าง ๆ ขึ้นมา เพื่อทำการประเมินและพิจารณาถึงข้อกำหนดต่าง ๆ รวมถึงยังใช้กระบวนการพิมพ์ 3 มิติสำหรับทำชิ้นส่วนอื่น ๆ ของรถสปอร์ต เช่น ไฟหน้า กระจกมองข้าง และโครงไฟท้าย BAC สามารถผลิตล้อแต่ละข้างที่มีน้ำหนักเพียง 2.2 กก. เบาลงกว่ารุ่นก่อนถึง 35% และสามารถผลิตได้ตามปกติบนเครื่อง CNC (computer numerical control) แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือ ล้อใหม่ไม่เพียงแต่เบากว่าเท่านั้น แต่ยังตรงตามข้อกำหนดด้านโครงสร้างสำหรับการขออนุมัติและการรับรองจากทางการในยุโรปอีกด้วย
นอกจากนี้ยังมี MJK Performance ผู้ผลิตอะไหล่สำหรับ Harley-Davidson ซึ่งนำ Generative Design มาใช้ เพื่อไปสู่เป้าหมายที่บริษัทให้ความสำคัญในการผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ของ Harley-Davidson ที่ต้องมีน้ำหนักเบา แข็งแรง และประสิทธิภาพสูง ซึ่งการออกแบบอะไหล่ชิ้นส่วนแรกด้วยเทคโนโลยีนี้ ทีมงานได้มุ่งไปที่แคลมป์สามตัว (Triple Clamp) ชิ้นส่วนเหล่านี้มักจะใหญ่และเทอะทะ ดังนั้นพวกเขาจึงเน้นที่การออกแบบใหม่ให้เบาที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในขณะที่ยังคงรักษาความสวยงามที่บริษัทขึ้นชื่อไว้ Generative Design ช่วยให้ทีมสามารถเลือกการออกแบบต่าง ๆ ที่อัลกอริทึมแนะนำ และเปลี่ยนจากแบบจำลองที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์ไปสู่ความเป็นจริงได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง
Detlev Reicheneder ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายกลยุทธ์อุตสาหกรรมของ Autodesk ได้นำเสนอถึงการศึกษาข้อมูลเชิงลึกที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารเพื่อการใช้ประโยชน์จากโอกาสสำหรับการสร้างสรรค์นวัตกรรมและการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล (Digital Transformation) โดยแสดงให้เห็นว่า Pix Moving ที่ใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างความยืดหยุ่น ปรับปรุงการทำงานร่วมกัน และทำให้กระบวนการทำงานเป็นแบบอัตโนมัติ จะทำให้พวกเขาสามารถเติบโตผ่านการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่อุตสาหกรรมกำลังเผชิญอยู่ได้
ขณะที่อนาคตของการออกแบบและการผลิตคือ การใช้ Industrial Metaverse ด้วยการขับเคลื่อนด้วยระบบอัตโนมัติและเทคโนโลยีคลาวด์ ทำให้ Metaverse ช่วยให้เราสามารถออกแบบการออกแบบ (Redesign Design) และกระบวนการผลิตใหม่ อุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น สถาปัตยกรรม วิศวกรรม การก่อสร้าง และการผลิต กำลังถูกจินตนาการขึ้นมาใหม่ หรือไม่ก็ยกเครื่องใหม่ เนื่องจากการออกแบบถูกทำให้มีชีวิตชีวาขึ้นด้วย Metaverse ซึ่งเกิดการทำงานร่วมกันอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อให้นักออกแบบ ผู้สร้าง และผู้ผลิตสามารถตัดสินใจด้วยการมีข้อมูลที่รอบด้านมากขึ้นและเร็วยิ่งขึ้น