“พุทธิพงษ์” ย้ำปีหน้าตั้งกองทุนสตาร์ทอัพ งบประมาณเบื้องต้นอย่างน้อย 1,000 ล้านบาท ล่าสุดเปิดตัวแพลตฟอร์มสตาร์ทอัพคนไทยเป็นทางเลือกใหม่ให้นักเดินทางต่างประเทศเข้าจองโรงแรมเพื่อกักตัว ASQ/ALQ
นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยได้มีการอนุญาตให้ชาวต่างชาติประเภทพิเศษ Special Tourist Visa เข้ามาในประเทศ โดยผู้ที่เดินทางเข้ามาจำเป็นต้องกักตัว 14 วัน ในสถานที่กักตัวแห่งรัฐ (Alternative State Quarantine : ASQ / Alternative Local State Quarantine : ALQ) และปฏิบัติตามมาตรการอื่นตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด รวมถึงการ ASQ ในโรงแรมต่างๆ ด้วย ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับทุกฟันเฟืองของเศรษฐกิจดิจิทัล อย่างกลุ่มสตาร์ทอัพของคนรุ่นใหม่ ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้คือพลังในการขับเคลื่อนประเทศในสถานการณ์โควิด–19 ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้ ถือเป็นมิติใหม่ในการยกระดับศักยภาพของ Startup ไทย ในการพัฒนาแพลตฟอร์มทางเลือกใหม่ในการจองที่พัก ASQ/ALQ โดยฝีมือคนไทย ทั้งนี้ ในอนาคตจะมีการผลักดันให้เกิดแพลตฟอร์มของคนไทยมากขึ้น เพราะไม่อย่างนั้นแล้วประเทศไทยจะเสียรายได้จากการที่คนไทยใช้แพลตฟอร์มจากคนต่างชาติ
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ประเทศไทยอยู่ในช่วงสถานการณ์ที่ต้องกลับมาเฝ่าระวังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 อีกครั้ง ความร่วมมือครั้งนี้ ถือเป็นความร่วมมือของทุกภาคส่วนว่าประเทศไทยได้มีการเตรียมพร้อมตลอดเวลา ต้นปี่ที่ผ่านมา ที่มีการการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ จึงได้เห็นว่า ประเทศไทยได้รับความร่วมมือที่ดีจากทุกภาคส่วน ทั้งคณะแพทบ์ พยาบาล เอกชน รวมถึงประชาชน ที่ทำให้ผ่านพ้นวิกฤติครั้งแรกไปได้ ซึ่งการเปิดให้คนเข้า ออกประเทศจะต้องมีการ ASQ และนักท่องเที่ยวหลายประเทศต้องการมาเที่ยวในประเทศไทย ส่งสำคัญคือต้องมีการกักตัว จึงต้องมีการเปิดให้มีการจองที่พักผ่านออนไลน์
“ที่ผ่านมาการจองที่พักยังใช้แพลตฟอร์มจากสตาร์ทอัพต่างประเทศ ตอนนี้เราพร้อมแล้ว มีการพัฒนาแพลตฟอร์มโดยสตาร์ทอัพคนไทย ดังนั้นเราจึงควรใช้แพลตฟอร์มของคนไทย ยิ่งๅปกว่านั้น ประเทศไทยเป็นประเทศท่องเที่ยว มีความโดดเด่นในการให้บริการนักท่องเที่ยว ส่งผลให้วันนี้การแสดงความพร้อมโดยสตาร์ทอัพของคนไทยจากนี้ไปจะทำให้เห็นศักยภาพการเข้าสู่ระบบดิจิทัล ให้ทุกคนได้ใช้งานดิจิทัลในประเทศอย่างต่อเนื่อง นี่ถือเป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่เกิดขึ้นและเป็นประโยชน์จริง ปี2564 เราจะมีแพลตฟอร์มสตาร์ทอัพเกิดขึ้นอีกมากมาย อาทิ ที่เกี่ยวกับอี คอมเมิร์ซ ที่จะเข้ามาช่วยในการซื้อ-ขาย เพราะคนไทยเก่ง มีการปรับตัวเข้าได้ดี เราจึงควรเริ่มพัฒนาแพลตฟอร์มโดยสตาร์ทอัพของคนไทยในรูปแบบต่างๆ รวมถึงรูปแบบการสื่อสารด้วย”
ทั้งนี้ ปัจจุบันสตาร์ทอัพ ได้รับความร่วมมือร่วมใจจากหลายหน่วยงานมากขึ้น เพื่อผลักดันประเทศให้ดีขึ้น ทั้งความก้าวหน้าในเรื่องของระบบ มีความจำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ จึงเห็นถึงความพร้อม ประเทศไทนมีสภาดิจิทัลที่ตั้งขึ้นมาสนับสนุนสตาร์ทอัพ ทำให้เกิดความเข้มแข็งมากขึ้น และยิ่งไปกว่านั้น ปี 2564 รัฐบาลจะทำการตั้งกองทุนสตาร์ทอัพขึ้น เบื้องต้นอยู่หลัก 1,000 ล้านบาท เพื่อให้เยาวชน คนไทยไม่ต้องไปใช้ทุนต่างประเทศ เพราะสตาร์ทอัพคนไทยความรู้ความาามารถมาก ไม่แพ้ประเทศอื่น ที่ผ่านมาอาจจะแพ้เรื่องเงินทุน และการต่อยอดตลาด เพื่อให้ทุกฝ่านต่อเห็นว่าสตาร์ทอัพไทยไม่แพ้สตาร์ทอัพประเทศอื่นๆ ยอมรับว่าเรื่องนี้ไม่ง่าย ไม่สามาถทำได้คนเดียว จึงต้องได้รับความมร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทำให้เห็นว่าไทยมีความพร้อมก้าวสู่จิทัล ปีหน้าจะก้าวสู้ไทยแลนด์ดิจิทัลอย่างสมบูรณ์
“สตาร์ทอัพไทยเก่ง จะมีปัญหา 3 ข้อหลักคือ 1.ขาดความเชื่อมั่น จึงเลือกไปจดทะเบียนบริษัทที่ต่างประเทศแทน 2. การเข้าถึงแหล่งทุน ในอดีตสตาร์ทอัพไม่มีอะไรที่ตีเป็นมูลค่าได้ พอไปขอเสนอเงินจากธนาคารจะไม่ได้เงิน เพราะต้องกลับมาดูที่อสังหาริมทรัยพ์ หรือสินทรัพย์ที่มี และ 3.กฏระเบียบ ไทยยังมีหลายอันที่ทำให้การขับเคลื่นไม่คล่องตัว ทั้งภาษี ขั้นตอนการจดทะเบียน เป็นต้น”
นายเกริกพงศ์ งาทวีสุข ผู้จัดการทั่วไป บริษัท แอสเซนด์ แทรเวิล จำกัด กล่าวว่า Ascend Travel เป็นแพลตฟอร์มสัญชาติไทย 100% ที่เข้าใจถึงปัญหา และสนับสนุนผู้ประกอบการไทยเพื่อนักเดินทาง โดยปัจจุบันทางบริษัทฯ ได้พัฒนาแพลตฟอร์มเดิมที่ใช้งานอยู่แล้ว ให้มีฟังก์ชั่นเพิ่มขึ้นด้วยการมีแพลตฟอร์มออนไลน์ในการจองแพ็คเกจโรงแรมสถานกักกันโรคแห่งรัฐทางเลือก (ASQ/ALQ) ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโรงแรมที่พัก ASQ/ALQ โดยผู้ที่เดินทางจากต่างประเทศเข้ามายังประเทศไทย สามารถค้นหาโรงแรมที่ผ่านมาตรฐานโรงแรม ASQ/ALQ ผ่าน https://asq.ascendtravel.com ซึ่งแพลตฟอร์มนี้จะครอบคลุมโรงแรม ASQ/ALQ ทั้งหมดในประเทศไทยกว่า 100 แห่ง ตั้งแต่ 3 – 5 ดาว เพื่อให้ผู้เดินทางหรือนักท่องเที่ยวสามารถเลือกจองที่พักได้ตามความต้องการ
ด้านนายธนวิชญ์ ต้นกันยา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฮอร์แกไนซ์ จำกัด กล่าวว่า บริษัท ฮอร์แกไนซ์ ซึ่งเป็น Startup สัญชาติไทย แพลตฟอร์มระบบบริหารหอพักอพาร์ทเม้นท์ที่ครอบคลุมการบริหารห้องเช่า มากกว่า 7,000 โครงการ และมีห้องพักมากกว่า 300,000 ห้องพักทั่วประเทศ ได้นำระบบมาพัฒนาต่อยอดให้ตอบโจทย์โรงแรมสถานกักกันโรคแห่งรัฐทางเลือก (ASQ/ALQ) เพื่อให้สามารถดูแลผู้ที่ต้องกักตัว 14 วัน ให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ลดความเสี่ยงในการติดต่อสื่อสารระหว่างพนักงาน ASQ/ALQ กับผู้กักตัว มากกว่านั้นยังนำเทคโนโลยี OCR (Optical Character Recognition) ของบริษัท แอ็คโคเมท (ZTRUS) จำกัด ซึ่งเป็นพาร์ทเนอร์มาร่วมพัฒนาระบบเพื่อช่วยลดระยะเวลาในการตรวจสอบเอกสารผู้ที่เดินทางเข้ามาต้องกักตัว 14 วัน เพื่อให้การบริหารจัดการห้องพักมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น