สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย (ATCI) ประกาศรางวัลเทคโนโลยีดิจิทัลดีเด่นแห่งปี 2024 ในการประกวด Thailand ICT Awards (TICTA) ครั้งที่ 20 มอบรางวัลให้แก่ผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ 11 ผลงาน และรองชนะเลิศ 24 ผลงาน ปลดล็อกศักยภาพเทคโนโลยีดิจิทัลไทยสู่เวทีเอเชียแปซิฟิก
นายบุญรักษ์ สรัคคานนท์ นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย ประธานในพิธี เปิดเผยว่า ‘โครงการประกวดผลงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลแห่งชาติที่สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทยและองค์กรภาครัฐ ได้ร่วมผลักดันให้เกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2546 โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะคัดเลือกและสนับสนุนผลงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลไทย เพื่อเป็นตัวแทนของประเทศร่วมประกวดระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หรือ Asia Pacific ICT Alliance (APICTA) Awards ด้วยความตระหนักถึงการยกระดับการพัฒนาผลงานเทคโนโลยีดิจิทัลไทยให้เป็นที่ประจักษ์ในเวทีนานาชาติ การสร้างเครือข่ายทางธุรกิจขยายตลาดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมถึงการสร้างประสบการณ์สำคัญโดยการเปิดโอกาสนักเรียนและนักศึกษาเข้าร่วมแข่งขันเพื่อเป็นแรงผลักดันสู่การพัฒนาทางด้านเทคโนโลดิจทัลในอนาคตต่อไป
“โครงการ TICTA2024 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Unlocking Potential and Shaping the Future” ปลดล๊อคขีดความสามารถผู้ประกอบการทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลไทยให้เกิดการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง สร้างอนาคตด้วยผลงานนวัตกรรมไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย ขอขอบคุณผู้สนับสนุนทุกท่านในดำเนินโครงการ Thailand ICT Awards ในปีนี้ ซึ่งแสดงถึงการ ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาส่งเสริมอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีดิจิทัล การดำเนินโครงการในปีนี้ได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดีทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และนักเรียน นักศึกษา โดยมีผู้ส่งผลงานเข้าร่วมสมัครจำนวน 250 ผลงาน โดยมีผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ 11 ผลงาน และรางวัลรองชนะเลิศ 24 ผลงาน”
ผลการประกวด Thailand ICT Awards 2024
1. หมวด Consumer
– รางวัลชนะเลิศ บริษัท เค.จี. แอนด์ แพทริค จำกัด และ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชื่อผลงาน ว่าง: ตลาดข้อมูล
– รางวัลรองชนะเลิศ บริษัท บริษัท เวคิน (ประเทศไทย) จำกัด ชื่อผลงาน CERO: Personal Carbon Wallet
2. หมวด Inclusion and Community Services
– รางวัลชนะเลิศ บริษัท ทรูอาย จำกัด ชื่อผลงาน TrueEye: Preventive Health Hero
– รางวัลรองชนะเลิศ บริษัท สไมล์ ไมเกรน จำกัด ชื่อผลงาน แอปพลิเคชัน Smile Migraine
3. หมวด Industrial
– รางวัลชนะเลิศ บริษัท อินเทลเล็คท์ เน็ตเวิร์ค เว็บ จำกัด ชื่อผลงาน WiPLUX
– รางวัลรองชนะเลิศ บริษัท ไอครีเอทีฟซิสเตมส์ จำกัด ชื่อผลงาน High performance Autonomous UAV eVTOL Vilverin VL340
– รางวัลรองชนะลิศ บริษัท ไอคิวบ์ จำกัด ชื่อผลงาน Manufacturing Data Management Platform
4. หมวด Business Services
– รางวัลชนะเลิศ บริษัท สาติ จำกัด ชื่อผลงาน ระบบบันทึกสรุปทางการแพทย์ รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Chart sum)
– รางวัลรองชนะเลิศ บริษัท รีไซโคเอ็กซ์ จำกัด ชื่อผลงาน Recycoex applications
– รางวัลรองชนะเลิศ บริษัท โปรเฟสชั่นแนล ซิสเต็มส์ แมเนจเมนท์ จำกัด ชื่อผลงาน ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ProDOC e-Saraban
5. หมวด Public Sector and Government
– รางวัลรองชนะเลิศ บริษัท โดซี่ เฮลธ์ จำกัด ชื่อผลงาน AI Medication Solution
– รางวัลรองชนะเลิศ บริษัท บีทามส์ โซลูชั่น จำกัด ชื่อผลงาน ปรับเป็นพินัย
6. หมวด Student Project
สาขาย่อย Junior Student
– รางวัลชนะเลิศ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ชื่อผลงาน G steps
– รางวัลรองชนะเลิศ ศูนย์หุ่นยนต์ โรโบมายด์ ชื่อผลงาน ORAL-C : Gingivitis Detection
– รางวัลรองชนะเลิศ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ชื่อผลงาน BuddyBear
– รางวัลรองชนะเลิศ โรงเรียนปรินส์รอยส์แยลส์วิทยาลัย ชื่อผลงาน เครื่องมือการกายภาพบำบัด กล้ามเนื้อส่วนเล็กสำหรับเด็ก ด้วยการตรวจจับการเคลื่อนไหวโดยปัญญาประดิษฐ์ และหลักการ เกมมิฟิเคชัน
สาขาย่อย Senior Student
– รางวัลชนะเลิศ โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย ชื่อผลงาน BrailleY: Seeing with Your Fingers ระบบช่วยผู้พิการทางการมองเห็น ให้เข้าถึงการศึกษาผ่าน EIBraille box ด้วย AI-Driven Assistance
– รางวัลรองชนะเลิศ โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี ชื่อผลงาน ThirdEye : Guiding Independence Device for the Visually Impaired
– รางวัลรองชนะเลิศ โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย ชื่อผลงาน KidneyScope: Retinal Imaging Analysis for Kidney Disease Risk Assessment | เครื่องมือการคัดกรองโรคไตวายเรื้อรังผ่านการตรวจจอประสาทตาภายในดวงตาด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์)
สาขาย่อย Tertiary Student
– รางวัลชนะเลิศ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ชื่อผลงาน ALISA: Leveraging Machine Learning Model for Generative UI Prompt Generator for Senior Citizens
– รางวัลรองชนะเลิศ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ชื่อผลงาน WU BOT CARE อุปกรณ์ติดตามและตรวจจับสัญญาณการร้องขอความช่วยเหลือของผู้สูงอายุผ่านสัญญาณการขยับมือโดยอาศัยปัญญาประดิษฐ์
– รางวัลรองชนะเลิศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ชื่อผลงาน Zero-Shot AI-Generated Text Detection In Thai Language
– รางวัลรองชนะเลิศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ชื่อผลงาน Self care แอพบันทึกอาการโรค NCDs ด้วยตัวเอง
7. หมวดCross Category: Research and Development
– รางวัลชนะเลิศ บริษัท ทรูอาย จำกัด ชื่อผลงาน TrueEye: Preventive Health Hero
– รางวัลรองชนะเลิศ บริษัท โคดัสทรี (ประเทศไทย) จำกัด ชื่อผลงาน REDBLU (เรดบลู) ระบบโกยหินทรายอัตโนมัติ
– รางวัลรองชนะเลิศ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ชื่อผลงาน SAIWAT (Saving And Intelligent softWare for Automatic measurement Technology)
8. Cross Category: Start Up
– รางวัลชนะเลิศ บริษัท ราวิส เทคโนโลยี จำกัด ชื่อผลงาน CLINS SUITE
– รางวัลรองชนะเลิศ บริษัท โดซี่ เฮลธ์ จำกัด ชื่อผลงาน AI Medication Solution
9. Technology Award: Artificial Intelligence
– รางวัลชนะเลิศ บริษัท ทรูอาย จำกัด ชื่อผลงาน TrueEye: Preventive Health Hero
– รางวัลรองชนะเลิศ บริษัท เวคิน (ประเทศไทย) จำกัด ชื่อผลงาน CERO: Personal Carbon Wallet
– รางวัลรองชนะเลิศ บริษัท สาติ จำกัด ชื่อผลงาน ระบบบันทึกสรุปทางการแพทย์ รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Chart sum)
9. Technology Award: Big Data Analytics
– รางวัลรองชนะเลิศ บริษัท ภูเก็ตอินโนเวทีฟ เดเวลลอปเม้นท์ จำกัด ชื่อผลงาน Smart Law แพลตฟอร์มอัจฉริยะเพื่อทนายความ
10. Technology Award: Internet of Things
– รางวัลชนะเลิศ บริษัท อินเทลเล็คท์ เน็ตเวิร์ค เว็บ จำกัด ชื่อผลงาน WiPLUX
– รางวัลรองชนะเลิศ บริษัท ฟาร์มคอนเน็ค เอเชีย จำกัด ชื่อผลงาน ProWam by FarmConnect_Asia
– รางวัลรองชนะเลิศ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ชื่อผลงาน ระบบติดตามภายในอาคาร UNAI