รายงานภัยคุกคามทางไซเบอร์จากเอ็นทีทีเผยการโจมตีผ่านแอปพลิเคชันเพิ่มสูง มีสัดส่วนถึง 67% ของการโจมตีทั้งหมด ชี้การเข้าถึงระบบจากระยะไกล เป็นช่องโหว่การโจมตีหลัก
บริษัท เอ็นทีที จำกัด (NTT Ltd.) ผู้ให้บริการเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก เปิดตัวรายงาน Global Threat Intelligence Report (GTIR) ปี 2021 เผยแฮกเกอร์ใช้ประโยชน์จากสถานการณ์ไร้เสถียรภาพทั่วโลกในการโจมตีระบบ โดยมุ่งเป้าหมายไปที่อุตสาหกรรมสำคัญและช่องโหว่ที่เกิดขึ้นจากการทำงานระยะไกล
รายงานพบว่า อุตสาหกรรมด้านการดูแลสุขภาพ (Healthcare) การผลิต (Manufacturing) และการเงิน (Financial) มีการโจมตีเพิ่มสูงขึ้น (200 %, 300 % และ 53%ตามลำดับ) โดยภาคอุตสาหกรรมทั้งสามรวมกันมีสัดส่วนถึง 62 %ของการโจมตีทั้งหมดในปี 2021 เพิ่มขึ้น 11 % จากปี 2020
ในขณะที่องค์กรต่างๆ มุ่งนำเสนอรูปแบบการทำงานระยะไกลในรูปแบบเสมือนจริงผ่านการใช้งานพอร์ทัลแอปพลิเคชันเฉพาะทางและเว็บแอปพลิเคชัน โดยมีการโจมตีถึง 67 % ของการโจมตีทั้งหมด เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในช่วงสองปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังมีธุรกิจการดูแลสุขภาพที่ปรับเปลี่ยนมาสู่รูปแบบการดูแลระยะไกลผ่านระบบเครือข่าย ทำให้การโจมตีมีความรุนแรงขึ้น โดย 97 %ของการโจมตีในกลุ่มอุตสาหกรรมนี้ โดยเป็นการโจมตีผ่านเว็บแอปพลิเคชันหรือแอปพลิเคชันเฉพาะทาง
รายงาน GTIR ยังให้ข้อมูลเชิงลึกที่ได้รับจากผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษาด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ของเอ็นทีที โดยใช้เกณฑ์คะแนนของโปรแกรมรักษาความปลอดภัยที่ใช้ในอุตสาหกรรมเป็นตัวพิจารณา โดยคะแนนที่สูงแสดงให้เห็นถึงถึงแผนการดำเนินการที่มีความเสถียรมากกว่า พบว่าอุตสาหกรรมด้านการดูแลสุขภาพและการผลิตมีคะแนนค่อนข้างต่ำเพียง 1.02 และ 1.21 ตามลำดับ ลดลดลงจากฐานคะแนนเดิมที่ 1.12 และ 1.32 ในปี 2019 ในขณะที่อัตราการโจมตีกลับเพิ่มขึ้นมาก
อุตสาหกรรมการผลิตมีคะแนนลดลงตลอดระยะเวลาสามปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมการทำงานและการเกิดขึ้นของรูปแบบการโจมตีใหม่ๆ ในขณะที่อุตสาหกรรมการเงินยังคงรักษาระดับคะแนนเกณฑ์มาตรฐานสูงสุดเป็นปีที่สามติดต่อกัน โดยมีคะแนนอยู่ที่ 1.84 ลดลงจากปีที่ผ่านมา 0.02 คะแนน
Kazu Yozawa ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แผนกความปลอดภัยของเอ็นทีที กล่าวว่า “ในปีที่ผ่านมา เราคาดการณ์ว่าจะมีการโจมตีเป้าหมายแบบฉวยโอกาสเพิ่มมากขึ้น และเราก็พบว่านั่นคือความจริง ในขณะที่อุตสาหกรรมต่างๆ พยายามรักษาระดับการให้บริการตลอดช่วงเวลาแห่งการพลิกผัน แต่มาตรฐานการรักษาความปลอดภัยที่ลดลงก็เป็นสัญญาณเตือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่บริษัทต่างๆ ต้องการระบบรักษาความปลอดภัยอย่างมาก บริการมากมายเริ่มปรับเข้าสู่รูปแบบดิจิทัลและออนไลน์เพื่อรองรับชีวิตวิถีใหม่ หลายองค์กรจึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในการรักษาความปลอดภัยและคงไว้ซึ่งแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดเพื่อให้องค์กรรอดพ้นจากการโจมตี”
ขณะที่มัลแวร์กลายเป็นเรื่องปกติสามัญทั้งในแง่คุณสมบัติและฟังก์ชันการทำงาน ตลอดปีที่ผ่านมา มัลแวร์ก็มีการพัฒนาให้มีความสามารถมากขึ้นด้วยการเป็นมัลแวร์ที่สามารถทำงานได้หลากหลาย (Multi-finction Malware) การเกิดขึ้นของนักขุดสกุลเงินดิจิทัล (Cryptominers) ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญทดแทนการโจมตีจาก Spyware ที่เป็นมัลแวร์ที่พบบ่อยที่สุดในโลก อย่างไรก็ตาม การใช้มัลแวร์โจมตีในกลุ่มอุตสาหกรรมเฉพาะยังคงมีการพัฒนาต่อไป
เวิร์ม (Worms) เป็นการโจมตีที่พบบ่อยที่สุดในภาคอุตสาหกรรมการเงินและการผลิต ขณะที่อุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพได้รับผลกระทบจาก Trojans ที่มีการเข้าถึงจากระยะไกล (Remote Acess Trojans) อุตสาหกรรมเทคโนโลยีตกเป็นเป้าหมายของ Ransomware ภาคการศึกษาถูกโจมตีโดย Cryptominers จากกระแสนิยมในการขุดสกุลเงินดิจิทัลในกลุ่มนักเรียนที่ใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานที่ยังไม่มีการรักษาความปลอดภัย
ตลาดสกุลเงินดิจิทัลเป็นตัวอย่างสำคัญในการโจมตียุคใหม่ โดยประมาณการณ์กันว่า Cryptominers มีถึง 41 % ของมัลแวร์ที่ตรวจพบทั้งหมดในปี 2020 และ XMRig coinminer เป็นมัลแวร์ที่พบมากที่สุดถึง 82 % ของกิจกรรม coinminer ทั้งหมดและประมาณ 99 % พบในในทวีปยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟฟริกา (EMEA)
“เมื่อด้านหนึ่งเรามีผู้คุกคามที่ใช้ประโยชน์จากการเกิดภัยพิบัติทั่วโลก และอีกด้านหนึ่งเรามีอาชญากรไซเบอร์ที่กำลังใช้ประโยชน์จากการเติบโตของตลาดที่ไม่เคยมีมาก่อน ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งสองจึงเป็นเรื่องที่ยากต่อการคาดเดาและมีความเสี่ยงสูง” Mark Thomas หัวหน้าศูนย์ Global Threat Intelligence Center ของเอ็นทีที กล่าว
Thomas แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมต่อว่า การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินงานหรือการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้กำลังเปิดโอกาสให้ผู้ประสงค์ร้ายสามารถเข้ามาโจมตีระบบ และด้วยการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วของตลาดสกุลเงินดิจิทัลที่เป็นกระแสนิยมในกลุ่มคนที่ยังขาดประสบการณ์ ทำให้การโจมตีรูปแบบใหม่จึงเกิดขึ้นได้ “ขณะนี้ เรากำลังเข้าสู่ช่วงของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้งองค์กรและผู้ใช้งานส่วนบุคคลจำเป็นต้องจัดลำดับความสำคัญในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ในทุกๆ อุตสาหกรรม และรวมถึงในกลุ่มห่วงโซ่อุปทานด้วย” Thomas กล่าวทิ้งทาย
นอกจากนี้จากรายงาน GTIR ปี 2021 ยังพบการโจมตีในภาคการผลิตเพิ่มขึ้นจาก 7 % ในปีที่ผ่านมาเป็น 22 % ขณะที่ธุรกิจด้านการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้นจาก 7 %เป็น 17 % ส่วนภาคการเงินเพิ่มขึ้นจาก 15 % เป็น 23 % องค์กรในหลายอุตสาหกรรมมองเห็นถึงการโจมตีที่เกี่ยวข้องกับวัคซีน COVID-19 และห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวข้อง การฉวยโอกาสของการก่ออาชญากรรมทางไซเบอร์เกี่ยวกับ COVID-19 ทวีความรุนแรงขึ้น โดยกลุ่มต่างๆ เช่น Ozie Team, Agent Tesla และ TA505 และนักแสดงระดับประเทศอย่าง Vicious Panda, Mustang Panda และ Cozy Bear ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในปี 2020
สำหรับรูปแบบของมัลแวร์ที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดในปี 2020 คือ Miners: 41%; Trojans: 26 %; Worms: 10 % และ Ransomware 6 % ส่วนCryptominers มีบทบาทสำคัญในกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะในทวีปยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา (EMEA) รวมทั้งทวีปอเมริกา แต่ยังไม่ค่อยมีบทบาทมากนักในทวีปเอเชียแปซิฟิก (APAC)
OpenSSL เป็นเทคโนโลยีที่มีเป้าหมายความสำคัญในอเมริกา แต่กลับไม่ได้อยู่ใน 10 รายชื่อแรกในกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิก (APAC) ผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังจากการตัดสินใจของ Schrems II ทำให้การคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของ EU-US (EU-US Privacy Shield) เป็นโมฆะ และสร้างภาระผูกพันเพิ่มขึ้นให้กับองค์กรที่ถ่ายโอนข้อมูลส่วนบุคคลจากสหภาพยุโรปไปยังประเทศที่สาม
ทั้งนี้งานวิจัยของเอ็นทีที แสดงให้เห็นว่า 50 % ขององค์กรทั่วโลกให้ความสำคัญกับการรักษาความปลอดภัยบนระบบคลาวด์ และเป็นเป้าหมายสำคัญในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ในช่วง 18 เดือนข้างหน้า