สมาคมประชาสัมพันธ์และการสื่อสาร หรือ PRCA ประกาศจัดงาน “The Rise of PR: An Introduction to PRCA Thailand “พร้อมเปิดตัวสมาคม PRCA ประเทศไทยอย่างเป็นทางการ
ทั้งนี้วิทยากรรับเชิญที่มาร่วมพูดคุยภายในงาน ได้พูดถึงแนวโน้มและวิธีการวัดผลการประชาสัมพันธ์ที่ประสบความสำเร็จและเหมาะสมสำหรับอนาคต โดยปี 2565 ที่จะมาถึงนี้ ทุกสัญญาณบ่งชี้ถึงการเติบโตต่อเนื่องรวมถึงบทบาทของอุตสาหกรรมการประชาสัมพันธ์ในไทยและทั่วภูมิภาคในฐานะแหล่งความรู้สำคัญสำหรับผู้นำในองค์กรธุรกิจและสังคม
โดย อุตสาหกรรมการประชาสัมพันธ์สามารถเติบโตท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในอัตราเลขเกือบสองหลัก (double digit growth) และเนื่องจากเทคโนโลยีดิจิทัลได้เข้ามาพลิกโฉมอุตสาหกรรมสื่ออย่างรวดเร็ว (disruption) รวมถึงความต้องการการเล่าเรื่องแบรนด์และข้อกำหนดสำหรับความรับผิดชอบจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหลาย ส่งผลให้อุตสาหกรรมการประชาสัมพันธ์ยังคงมีบทบาทความสำคัญในฐานะอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างแข็งแกร่งในกลุ่มงานให้บริการด้านการตลาด
“อุตสาหกรรมการประชาสัมพันธ์ได้รับความสนใจจากบรรดาผู้บริหารระดับสูง (C-suite) ในแง่ศักยภาพในการบอกเล่าเรื่องราวของแบรนด์ผ่านการสร้างเนื้อหาคอนเทนท์และความสามารถในการสนับสนุนองค์กรต่าง ๆ เกี่ยวกับการบริหารจัดการชื่อเสียงในสภาพแวดล้อมการทำงานที่ซับซ้อนและท้าทาย ซึ่งดูเหมือนจะมีความต้องการเพิ่มมากขึ้นทุกที”
คุณทารา มิวนิส ประธาน PRCA เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “เรามองการเติบโตของอุตสาหกรรมการประชาสัมพันธ์เป็นเทรนด์ในระยะยาว เนื่องจากอุตสาหกรรมนี้มีความเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะตอบสนองความต้องการของธุรกิจและสังคมยุคใหม่”
อุตสาหกรรมการประชาสัมพันธ์กำลังก้าวสู่การเป็นอุตสาหกรรมชั้นนำที่ทุกฝ่ายต้องการร่วมงานด้วย เนื่องจากแบรนด์ต่าง ๆ ต้องการความช่วยเหลือในเรื่องการแบ่งปันข้อมูล การดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส และช่วยให้ผู้บริโภคได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องเพื่อให้สอดคล้องกับอนาคตความสำคัญของการเล่าเรื่องแบรนด์และการสร้างชื่อเสียงของแบรนด์และองค์กร สมาคมประชาสัมพันธ์และการสื่อสาร (PRCA) อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมที่จะส่งเสริมอุตสาหกรรมการประชาสัมพันธ์ในฐานะกลุ่มบริษัทชั้นนำที่มีบริการที่ดีที่สุดที่ลูกค้าสามารถไว้วางใจได้ว่าจะสามารถสื่อสารไปถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของพวกเขาได้อย่างเหมาะสมและตรงจุด
คุณแคโรลีน ฮซุ กรรมการผู้จัดการ APAC บริษัท Hoffman Agency กล่าวว่า บรรดาองค์กรธุรกิจควรให้บริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมพีอาร์เป็นผู้นำแคมเปญการสื่อสารแบบบูรณาการ เนื่องจากนักประชาสัมพันธ์มีความเชี่ยวชาญและมีทักษะเฉพาะทางที่ออกแบบมาเพื่อชักจูงโน้มน้าวผู้ชม แม้กระทั่งผู้ชมที่มีความลังเลสงสัยมากที่สุด
อย่างไรก็ดี คุณฮซุ เน้นย้ำว่า งบประมาณของแคมเปญประชาสัมพันธ์ควรปรับเพิ่มขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจอันเป็นผลมาจากองค์กรธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คุณซูยังระบุด้วยว่า งบประมาณของแคมเปญประชาสัมพันธ์ในสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปนั้นสูงมาก ในขณะที่ในเอเชียกลับน้อยมาก
“งบประมาณด้านการสื่อสารการตลาดมีความไม่สมดุลกันอย่างมากเมื่อเทียบกับแต่ละภูมิภาค” คุณฮซุกล่าว
ภายในงาน คุณรวิศ หาญอุตสาหะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ศรีจันทร์สหโอสถ จำกัด และ คุณสายใย สระกวี Head of Communications and Public Affairs จากบริษัท กูเกิล (ประเทศไทย) จำกัด ได้กล่าวถึงผลกระทบและอิทธิพลของอุตสาหกรรมพีอาร์จากมุมมองขององค์กรที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทย
คุณรวิศ กล่าวว่า “ในช่วงเวลา 3-5 ปีที่ผ่านมา วิธีการที่ผู้บริโภคได้รับข่าวสารนั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด โดยพีอาร์ได้นำแนวทางการสื่อสารส่วนบุคคล (personalized approach) มาปรับใช้ ดังนั้น เนื้อหาของข่าวสารควรมีความเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกับผู้ฟังมากขึ้น การสื่อสารทุกประเภทจึงจะต้องมีกระบวนการคิดอย่างรอบคอบ และมีแนวทางการตลาดที่แม่นยำยิ่งขึ้น” ซึ่งมีเพียงอุตสาหกรรมการประชาสัมพันธ์เท่านั้นที่สามารถส่งมอบบริการเหล่านี้ได้
คุณสายใย จากกูเกิล ประเทศไทย ได้แบ่งปันมุมมองของเธอว่า ถึงแม้อุตสาหกรรมและเทรนด์จะมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เช่น แหล่งที่มาของข่าวสารข้อมูลที่ผู้บริโภคพึ่งพา อย่างไรก็ตาม แนวคิดหลักเรื่องที่พีอาร์จะต้องสื่อสารอย่างไรให้ถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอยู่นั้นยังคงเหมือนเดิม เธอยังกล่าวเสริมด้วยว่า “การจัดการแบรนด์เพื่อรักษาภาพลักษณ์และชื่อเสียงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก และนั่นคือสิ่งที่พีอาร์ได้ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือเพื่อช่วยให้แบรนด์มีความโปร่งใสและน่าเชื่อถือ”
การประชาสัมพันธ์ได้ใช้แนวคิดด้านสื่อสารมวลชนซึ่งยึดหลักความถูกต้องและความโปร่งใส โดยสิ่งนี้ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ทำให้อุตสาหกรรมพีอาร์มีความพร้อมและเหมาะสมในการตอบสนองความต้องการของธุรกิจสมัยใหม่มากกว่าบริการอื่น ๆ
วิทยากรท่านอื่น ๆ ภายในงาน ได้แก่ คุณคาริณ โลหิตนาวี ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ Midas PR Group ซึ่งกล่าวถึงมุมมองจากตำแหน่งผู้นำในฐานะประธาน PRCA ในประเทศไทยด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ คุณริชาร์ด แบ๊กนาวด์ (Richard Bagnall) ประธาน AMEC หุ้นส่วนผู้จัดการร่วมระดับโลก และ CEO ของ CARMA ยุโรปและอเมริกา ได้กล่าวถึงเครื่องมือการวัดผลเพื่อประเมินผลกระทบของแคมเปญประชาสัมพันธ์ว่า “การมีมาตรวัดที่ทันปัจจุบันที่สุดซึ่งช่วยบอกเล่าการวัดผลที่มีความหมายถือเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากคุณไม่สามารถใช้มาตรชี้วัดดังกล่าวจากเครื่องมือติดตามหรืออุปกรณ์ดีไวซ์เพียงอย่างเดียวได้ กระบวนการคิดก็เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมพีอาร์จึงมีความสำคัญ ดังนั้น เราต้องริเริ่มคิดในแง่ของวิธีการวัดผล ที่มีทั้งวัดผลแบบทั่วไป ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ และผลลัพธ์ที่ครอบคลุมครบถ้วน เพราะการประชาสัมพันธ์ไม่ใช่แค่เพียงการส่งข่าวสารออกไปในวันรุ่งขึ้นอีกต่อไป”