สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) เเถลงความร่วมมือ 3 ฝ่าย ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ลงนามบันทึกความร่วมมือในการผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านยานยนต์ไฟฟ้า พร้อมส่งเสริมการใช้ยานยนต์พลังงานสะอาดในไทย
เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ.2565 สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทยนำโดยนายกฤษฎา อุตตโมทย์ นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย นายทาวัน ทวีถาวรสวัสดิ์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เเละ ดร.กาญจนา วานิชกร รองผู้อำนวยการ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ได้ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือ ณ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ในกรอบความร่วมมือด้านการผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านยานยนต์ไฟฟ้าและส่งเสริมการใช้ยานยนต์พลังงานสะอาดในประเทศไทย
โดยในกรอบบันทึกความร่วมมือดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อ ส่งเสริมให้ประชาชนในประเทศไทยมีการใช้พลังงานสะอาดเพิ่มมากขึ้น เพื่อช่วยลดปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาการกระจายของฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ (PM2.5) ปัญหาโลกร้อนจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อากาศ อีกทั้งยังช่วยสนับสนุนการใช้งานและการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและส่งเสริมการเรียนรู้เทคโนโลยีสมัยใหม่ด้านยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาที่เน้นพัฒนาทักษะอาชีพของผู้เรียน อันจะนำไปสู่การสร้างอาชีพและรายได้ที่เหมาะสมต่อไป ร่วมกันส่งเสริมการผลิต และพัฒนาบุคลากรด้านยานยนต์ไฟฟ้า ผ่านการดำเนินการจัดกิจกรรม ประกวด/แข่งขัน การฝึกอบรม การสัมมนาทางวิชาการ ตลอดจนการส่งเสริมการสร้างทักษะด้านยานยนต์ไฟฟ้าของบุคลากรผ่านการปฏิบัติงานในเครือข่ายอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าทั้งในและต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ.2565 สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย นำโดย นายกฤษฎา อุตตโมทย์ นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย นายทาวัน ทวีถาวรสวัสดิ์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เเละ ดร.กาญจนา วานิชกร รองผู้อำนวยการ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ได้ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือ ณ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ในกรอบความร่วมมือด้านการผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านยานยนต์ไฟฟ้าและส่งเสริมการใช้ยานยนต์พลังงานสะอาดในประเทศไทย
โดยในกรอบบันทึกความร่วมมือดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในประเทศไทยมีการใช้พลังงานสะอาดเพิ่มมากขึ้น เพื่อช่วยลดปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาการกระจายของฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ (PM 2.5) ปัญหาโลกร้อนจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อากาศ อีกทั้งยังช่วยสนับสนุนการใช้งานและการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและส่งเสริมการเรียนรู้เทคโนโลยีสมัยใหม่ด้านยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาที่เน้นพัฒนาทักษะอาชีพของผู้เรียน อันจะนำไปสู่การสร้างอาชีพและรายได้ที่เหมาะสมต่อไป ร่วมกันส่งเสริมการผลิต และพัฒนาบุคลากรด้านยานยนต์ไฟฟ้า ผ่านการดำเนินการจัดกิจกรรม ประกวด/แข่งขัน การฝึกอบรม การสัมมนาทางวิชาการ ตลอดจนการส่งเสริมการสร้างทักษะด้านยานยนต์ไฟฟ้าของบุคลากรผ่านการปฏิบัติงานในเครือข่ายอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าทั้งในและต่างประเทศ
ในส่วนของกระทรวงอุตสาหกรรม นายทาวัน ทวีถาวรสวัสดิ์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า “ในส่วนของกระทรวงอุตสาหกรรมพร้อมทำการสนับสนุน ต่อยอดและนำความรู้ที่เกิดจากโครงการความร่วมมือนี้ ไปเป็นข้อมูลเพื่อรองรับการผลิตและพัฒนากำลังคน และแรงงานในภาคอุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต”
ในด้านของสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ดร.กาญจนา วานิชกร รองผู้อำนวยการ สอวช.กล่าวว่า “ทางสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) พร้อมร่วมดำเนินการ ส่งเสริมด้านการศึกษาวิจัยและออกแบบนโยบาย และมาตรการด้านการสร้างและพัฒนาบุคลากรด้านยานยนต์สมัยใหม่ ให้สามารถสร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ดังกล่าว รวมถึงการพัฒนาระบบนิเวศและปัจจัยเอื้อเพื่อสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นผู้นำด้านการพัฒนายานยนต์สมัยใหม่ในระดับอุตสาหกรรม”
ด้านนายกฤษฎา อุตตโมทย์ นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย กล่าวว่า “ทางสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทยรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนสำคัญในการช่วยผลักดันและพัฒนาบุคลากรด้านยานยนต์ไฟฟ้า ร่วมกับอีก 2 องค์กรชั้นนำ ได้เเก่ กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ซึ่งกรอบความร่วมมือนี้ ทางสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย เชื่อมั่นว่า จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถด้านบุคลากรในประเทศ ให้มีองค์ความรู้ด้านยนต์ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น เพื่อต่อยอดให้ประเทศไทยเป็นจุดศูนย์กลางในการผลิตและการจัดจำหน่ายยานยนต์ไฟฟ้าของภูมิภาค อีกทั้งเมื่อมีบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจด้านยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเเล้ว จะช่วยทำให้ประชาชนหันมาสนใจใช้ยานยนต์ไฟฟ้า หรือยานยนต์ที่มาจากพลังงานสะอาดมากขึ้น และจะช่วยลดปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ในอนาคตต่อไป”
ซึ่งระยะเวลากรอบความร่วมมือเพื่อผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านยานยนต์ไฟฟ้าและส่งเสริมการใช้ยานยนต์พลังงานสะอาดในประเทศไทยนี้ มีระยะเวลา 5 ปี นับตั้งเเต่วันที่ลงนามร่วมกันทั้ง 3 ฝ่าย