ดีแทคจับมือ ETDA และซิสโก้ เปิดค่ายเสมือนจริงแบบ Metaverse สำหรับเยาวชน ม.ปลาย เรียนรู้การรับมือกับปัญหาอาชญากรรมบนโลกไซเบอร์
5 เมษายน 2565 – ดีแทคชวนเยาวชนที่ศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมปลายทั่วประเทศ สมัครเข้าร่วมค่าย Metaverse ใน Young Safe Internet Leaders Cyber Camp ปีที่ 4 ที่ดีแทคร่วมมือกับซิสโก้ และสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA เปิดพื้นที่เรียนออนไลน์เข้าใจปัญหาอาชญากรรมไซเบอร์ และตื่นตัวร่วมพัฒนานวัตกรรมทางสังคมระดับเยาวชนในการสร้างความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity) บนค่ายเสมือนจริงแบบ Metaverse ที่เป็น Cybersecurity sandbox พื้นที่เรียนรู้และทดลองพัฒนาโครงการรับมือภัยเสี่ยงออนไลน์ในประเทศไทย โดยปีนี้ดีแทคได้เพิ่มเนื้อหาสำคัญด้วยการร่วมกับซิสโก้ผู้นำเทคโนโลยีระดับโลกนำความรู้ โครงการ Cisco Networking Academy ถ่ายทอดสู่ค่ายเยาวชนอีกด้วย
นางอรอุมา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโสสายงานสื่อสารองค์กรและการพัฒนาที่ยั่งยืน ดีแทค กล่าวว่า ปีนี้เป็นปีที่ 7ที่ DTAC Safe Internet ได้ดำเนินโครงการมาเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนและคุณครูในการรู้จักและรู้วิธีแยกแยะและก็รับมือกับความเสี่ยงบนโลกออนไลน์
“ ดีแทคเริ่มทำงานในเรื่องของ Camp เมื่อ 4 ปีที่แล้ว โดยเปิดพื้นที่ดีแทคเฮ้าส์ ให้เป็น Camp ที่คนมารวมตัวกัน ซึ่งเป็นการเปิดบ้านต้อนรับเยาวชนกว่า 200 คนจากทั่วประเทศ และมีการเปิดรูปแบบการสนทนาที่พูดถึงเรื่อง ความคิดเห็นมุมมองการรับรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงบนโลกออนไลน์ ซึ่งทำให้เห็นถึงความหลากหลาย พอมาปีที่ 2 เจอภัยโควิด-19 ทำให้ต้องปรับแผนจัดเป็น Cyber Camp เป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบออนไลน์ทั้งหมด พอมาเป็นปีที่3 หรือปีที่ผ่านมา เราได้เปิดประเด็นความเสี่ยงบนโลกออนไลน์ใหม่ ๆ ที่ตามเทรนด์ของโลก มีน้องๆเข้ามาเรียนรู้บนโลกออนไลน์ถึง 600 คน และสามารถทำโครงการเพื่อสังคมได้หลายโครงการ มาในปีนี้ ดีแทคได้มีโอกาสร่วมมือกับโกลบอลพาร์ทเนอร์ของเทเลนอร์ ก็คือซิสโก้ ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน Cybersecurity ซึ่งกำลังเป็นที่สนใจและตื่นตัวของเยาวชนทั่วโลก ทำให้ในปีนี้โครงการ ฯ ได้หยิบยกเรื่องดังกล่าวมาใช้เป็นพื้นที่ทดลอง และเป็นที่เรียนรู้สำหรับเยาวชน โดยปีนี้จะรับเฉพาะเด็กมัธยมปลาย ที่มีความสนใจมาร่วม Camp ”
ทั้งนี้ความเสี่ยงบนโลกไซเบอร์ (Cyber Risk) คือหนึ่งในประเด็นความเสี่ยงระดับโลก ที่เยาวชนกว่า 150 ประเทศทั่วโลก แสดงจุดยืนและเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงผ่านแผนเยาวชนฟื้นฟูโลก (Youth Recovery Plan) ในที่ประชุม World Economic Forum ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เมื่อปี 2564 จากข้อมูลองค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ หรือ ตำรวจสากล (International Criminal Police Organization หรือ INTERPOL) คาดการณ์ว่าภัยไซเบอร์จะคุกคามสร้างความเสียหายทั่วโลก 10.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ปี 2568 และมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
สำหรับหลักสูตรค่าย Young Safe Internet Leaders Cyber Camp 2022 โครงการได้ออกแบบหลักสูตรค่ายออนไลน์ โดยมุ่งเน้นให้เยาวชนได้สัมผัสประสบการณ์การเรียนรู้ในรูปแบบค่ายเสมือนจริง หรือ ค่าย Metaverse โดยจะปูพื้นเยาวชนให้รู้จักโลกเสมือนจริงเบื้องต้น ผ่านตัวตนที่เป็นอวตาร (avatar) ซึ่งเป็นกราฟฟิก รวมทั้งกิจกรรมแคมป์ต่างๆ ที่จะเข้าร่วมแบบ Metaverse ด้วยการออกแบบมาโดยเฉพาะ ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมหลัก ได้แก่
Boot Camp : เพิ่มทักษะเตรียมตัวให้พร้อมกับการเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพกับเนื้อหาจาก ETDA และซิสโก้ ที่พัฒนาจากแนวทางที่อ้างอิงตามมาตรฐานสากลพร้อมเรียนรู้ประเด็นความเสี่ยงในโลกออนไลน์ที่ท้าทายในปี 2022 เช่น การใช้เทคโนโลยี DeepFake ในการปลอมแปลงเนื้อหา การหลอกลวง (Phishing) เพื่อล้วงข้อมูลส่วนบุคคลทางออนไลน์ เป็นต้น การแนะแนวอาชีพจากรุ่นพี่ในสายอาชีพด้านดิจิทัล จากทางดีแทคและซิสโก้เพื่อเตรียมความพร้อมการศึกษาต่อในอนาคต
Studio LAB : การเรียนรู้พร้อมลงมือปฏิบัติจริงกับซิสโก้ ผู้นำระดับโลกในด้านเทคโนโลยี และหนึ่งในผู้ให้บริการความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ค่ายเยาวชนจะได้เรียนรู้จริงถึงการใช้งานความปลอดภัยทางไซเบอร์ ผ่าน use case และประสบการณ์ ในการตรวจสอบ แก้ไขภัยคุกคาม และการแจ้งเตือนทางไซเบอร์ ผ่านกรณีศึกษาใกล้ตัวที่น่าสนใจใน 2 สตูดิโอได้แก่ Cyber Attack studio และ Online Privacy Studio พร้อมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากเพื่อนเยาวชนหลากหลายพื้นที่ ผู้นำระดับโลกในด้านเทคโนโลยี และหนึ่งในผู้ให้บริการความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ค่ายเยาวชนจะได้เรียนรู้จริงถึงการใช้งานความปลอดภัยทางไซเบอร์ ผ่าน use case และประสบการณ์ ในการตรวจสอบ แก้ไขภัยคุกคาม และการแจ้งเตือนทางไซเบอร์
Project Incubation : การต่อยอดความรู้และการบ่มเพาะความคิด เพื่อพัฒนานวัตกรรมทางสังคมในการรับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยเยาวชนจะมีโอกาสได้ระดมไอเดียและพัฒนาโครงการร่วมกับเพื่อนในค่าย ทดลองกระบวนงานทำงานแบบ Startup ตั้งแต่กระบวนการสร้างทีม (Team matching) กระบวนคิดเชิงออกแบบ(Design thinking) ด้วยการใช้ Business Model Canvas และการเสนอความคิดแบบ pitching เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการในวัน Demo Day พร้อมได้รับการโค้ชชิ่งบน The Cyber Security Sandbox ซึ่งเป็น Online Co-Working Space ที่ช่วยให้ทั้งโค้ชและเยาวชนสามารถทำงานร่วมกันได้เป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับจุดเด่นของค่ายในปีนี้คือเยาวชนจะได้เข้าร่วมเข้าค่ายแบบเสมือนจริง (Metaverse) ที่สามารถสร้างอวทาร์ (Avatar) หรือภาพกราฟิกที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้แทนตัวของผู้ใช้งานบนโลกอินเทอร์เน็ต และพูดคุยกับเพื่อนใหม่ในค่าย จุดประกายความคิดสร้างสรรค์ แลกเปลี่ยนแรงบันดาลใจ พร้อมทั้งได้พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญระดับโลก และพบกับฟีเจอร์ที่สนุกต่างๆ ในการเรียนรู้และทำงานร่วมกันผ่าน The Cyber Security Sandbox จนสามารถสร้างโปรเจคได้จริงและเป็นแกนนำเยาวชนที่เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงและสร้างสรรค์วัฒนธรรมออนไลน์ พร้อมโอกาสในการพัฒนาหรือต่อยอดเส้นทางอาชีพในอนาคต และการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติมจากทางซิสโก้และเอ็ตด้า ที่เยาวชนสามารถได้รับประกาศนียบัตรด้านดิจิทัลที่ได้รับรองเพื่อเสริมทักษะเฉพาะด้านตามความสนใจ
สำหรับ ซิสโก้ (Cisco) เป็นองค์กรระดับโลกและผู้นำในการให้บริการความปลอดภัยทางไซเบอร์ และซิสโก้ยังเป็นพาร์ทเนอร์กับเทเลนอร์ กรุ๊ป ในด้านความร่วมมือต่างๆ รวมถึงซีเคียวริตี้ และโมบิลิตี้ สำหรับความร่วมมือกับดีแทค เป็นโครงการนำร่องโครงการแรกจากสองโครงการภายใต้ข้อตกลงร่วม (Joint Purpose Agreement) ฉบับใหม่ระหว่างซิสโก้และกลุ่มเทเลนอร์ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อจัดการกับความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลในภูมิภาคเอเชีย สำหรับความร่วมมือกับดีแทคในครั้งนี้ซิสโก้จะนำผลการศึกษาด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ และการเตรียมความพร้อมในการให้ความรู้กับเยาวชนในเบื้องต้น และยังได้นำสู่การร่วมกันลงมือฝึกฝน ซึ่งเป็นโอกาสที่เยาวชนไทยจะได้พบกับผู้ที่มีความเชี่ยวชาญระดับโลก มาร่วมกับดีแทคในโครงการ Young Safe Internet Leaders Cyber Camp ปี 4
ด้าน สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA ได้นำหลักสูตร Digital Citizen ซึ่งเป็นหลักสูตรการสร้างความตระหนักรู้ในการใช้อินเทอร์เน็ต (ETDA Digital Citizen หรือ EDC) ที่พัฒนาขึ้นโดยอิงจากแนวทางที่อ้างอิงตามมาตรฐานสากล และประสบการณ์ของ ETDA ในการลงพื้นที่จัดการเรียนการสอนแก่กลุ่มเป้าหมายตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมากว่า 5,500 คน ทั่วทุกภูมิภาค รวมถึงผลิตและเผยแพร่สื่อที่เกี่ยวข้องโดยมียอดเข้าถึงผ่านทางออนไลน์กว่า 25 ล้านการเข้าชม จนในปัจจุบัน ETDA ได้ปรับปรุงและพัฒนาเนื้อหาหลักสูตรการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับบริบทของคนไทยโดยเฉพาะเยาวชนไทย ให้พร้อมสู่การเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพ และครั้งนี้ได้นำมาร่วมกับดีแทคในโครงการ Young Safe Internet Leaders Cyber Camp ปี 4 โดยแบ่งสมรรถนะที่สำคัญออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่
1.อัตลักษณ์ดิจิทัล (Digital Identity) – สร้างความตระหนักรู้ในการสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ เข้าใจ และระมัดระวังในการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวบนโลกออนไลน์
2.การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเหมาะสม (Digital Use) – สร้างความเข้าใจในการจัดสรรเวลาหน้าจอได้อย่างสมดุล และรับรู้ผลกระทบต่อสุขภาพกายและจิตใจจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตทั้งกับตนเองและผู้อื่น
3.การจัดการความปลอดภัยในโลกดิจิทัล (Digital Security) -สร้างความตระหนักรู้ถึงพฤติกรรมเสี่ยงหรือความไม่ปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้นบนโลกดิจิทัล รู้เท่าทันประเด็นภัยคุกคามไซเบอร์ที่และรู้จักเครื่องมือที่จะช่วยป้องกัน และรับมือกับภัยคุกคามได้
4.การรู้เท่าทันดิจิทัล (Digital Literacy) – สร้างองค์ความรู้ให้เข้าใจความหลากหลายของข้อมูลบนโลกดิจิทัล และสามารถสร้างสรรค์สื่อดิจิทัลได้อย่างสร้างสรรค์
5.การสื่อสารดิจิทัล (Digital Communication) – สร้างความเข้าใจถึงความสำคัญของผลกระทบจากการสร้างร่องรอยดิจิทัลทั้งทางบวกและลบเพื่อนำไปสู่การจัดการร่องรอยทางดิจิทัลในทางที่ดี การใช้เครื่องมือออนไลน์ต่างๆในการติดต่อสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการมีปฏิสัมพันธ์เพื่อสร้างความร่วมมือที่ดีบนโลกดิจิทัล
ค่ายดีแทค Young Safe Internet Leaders Cyber Camp 2022 หรือ YSLC ซีซั่น 4 ขอชวนนักเรียนระดับชั้นมัธยมปลายที่มีความฝันจะก้าวสู่แกนนำเยาวชนที่ต้องการร่วมแก้ปัญหาอาชญกรรมไซเบอร์ และมีใจรักในการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางสังคม มาสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ – 16 เมษายน พ.ศ. 2565 ที่เว็บไซต์ https://www.safeinternetlab.com/challenge/camp โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายทั้งโครงการ พร้อมโอกาสในการรับทุนการศึกษารวมกว่า 400,000 บาท